ยื่นขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อธุรกิจหรือทำงาน
เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อทำงาน(NON-B)
(ต้องมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 21 วัน และต้องไม่อยู่เกิน) Download File
-
แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (แบบ ตม.86 หรือ ตม.87)
-
สำเนาหนังสือเดินทาง
-
รูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. จำนวน 1 รูป
-
ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
-
หนังสือชี้แจงเหตุผลจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานและขอความร่วมมือในการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ, ตำแหน่ง, ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยนวีซ่าจาก ผ.30 หรือ TR เป็น NON-B)
-
หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบฟอร์มของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงงาน)
-
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
-
สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
-
สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.01, ภพ.20 และสำเนาหนังสือปริคณห์สนธิการเพิ่มทุน
-
สำเนางบดุล บัญชีกำไรขาดทุน ปีล่าสุด (กรณีไม่มีให้ชี้แจง)
-
สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้าไม่มีให้ทำหนังสือชี้แจง)
-
สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและกองนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
-
สำเนารายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย (ภ.ง.ด.1 ย้อนหลัง 3 ปี)
-
แสดงรูปภาพของบริษัทถ่ายให้เห็นป้ายชื่อบริษัท สภาพการทำงาน โต๊ะทำงานภายในบริษัท หรืออาคารซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะงาน จำนวน 7-10 ภาพ
-
แผนที่ตั้งบริษัท
-
กรณีบริษัทได้รับการส่งเสริม BOI ให้แสดงหนังสือขอความร่วมมือจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การนิคมอุตสาหกรรม หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หากไม่มีให้แสดงหนังสืออนุมัติตำแหน่งจาก BOI
หมายเหตุ
-
เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามทุกแผ่นทุกหน้า
-
เอกสารของบริษัทฯ หรือห้างฯ กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ลงนามรับรองทุกหน้าทุกแผ่นแล้วประทับตราบริษัทฯ หรือห้างฯ เป็นสำคัญ
-
ในการยื่นเอกสารเพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา กรุณานำเอกสารมายื่นให้ครบ และยื่นเอกสารฉบับจริงทุกฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการตรวจสอบและดำเนินการ
-
หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสอบถาม โทร.02-2873101 -10 ต่อ 2237
เอกสารการขอยื่นขอ คนอยู่ชั่วคราว ประเภทธุรกิจ 1 ปี
-
แบบคำขอ (ตม.7)
-
สำเนาหนังสือเดินทาง
-
หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.1)
-
สำเนาใบอนุญาตทำงาน
-
สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
-
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
-
สำเนางบดุลและงบกำไรขาดทุนปีล่าสุด พร้อมแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและใบเสร็จรับเงิน (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
-
สำเนาแบบยื่นแสดงรายการทางภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีพนักงานคนไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือน ล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
-
สำเนาแบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
-
สำเนาแบบรายการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส1-10)3เดือน ล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
-
สำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30 หรือ ภพ.36) 3 เดือน ล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
-
เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงานแล้วไม่มีผู้มาสมัคร
-
แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
-
เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด (แบบ สตม.2)
-
รูปถ่ายสถานประกอบการ
-
ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
-
ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฎิบัติงานอยู่
-
ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5-10 มาแสดงด้วย
-
กรณีมีครอบครัวติดตามมาด้วย แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้น ๆ
หมายเหตุ
เอกสารทุกแผ่นทุกหน้าให้ประทับตราบริษัทและลงนามรับรองเอกสาร โดยกรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองจดทะเบียนกำหนดไว้
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
-
แบบคำร้องขออยู่ต่อ (แบบ ตม.7)
-
รูปถ่ายขนาด 4+6 ซม. จำนวน 1 รูป
-
ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
-
สำเนาหนังสือเดินทาง(พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
-
หลักเกณฑ์การประกอบการขออยู่ต่อ กรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
-
เป็นคนต่างด้าวสูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
-
ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
-
มีหลักฐานแสดงการเงินข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
กรณีเงินฝากธนาคาร ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
-
กรณีปีแรก หลักฐานการเงินฝากและหนังสือรับรองของธนาคารไม่น้อยกว่า 800,000 บาท (แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลังไม่น้อยกว่า 60 วัน)
-
กรณีปีที่สองและปีถัดไป หลักฐานการเงินฝากและหนังสือรับรองของธนาคารไม่น้อยกว่า 800,000 บาท (แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลังไม่น้อยกว่า 90 วัน)
กรณีมีรายได้จากเงินบำนาญไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท
-
หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือหนังสือรับรองเงินรายได้ ไม่น้อยกว่า 65,000 บาท
กรณีเงินฝากและเงินรายได้จากบำนาญ รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
-
สำเนาบัญชีธนาคารและหนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร
-
หนังสือรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญ
-
สามารถใช้บัญชีเงินฝากร่วมกับผู้อื่นได้ แต่จำนวนเงินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์กำหนดตัวอย่างเช่น คนต่างด้าวสามีภรรยาขออยู่ต่อเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย จำนวนเงินฝากในบัญชีร่วมต้องมีไม่น้อยกว่า 1.6 ล้านบาท (800,000 บาท/คน)
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีอุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
หลักเกณฑ์การพิจารณา
-
คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว
-
มีหลักเกณฑ์แสดงความสัมพันธ์
-
มีหลักฐานการแสดงการมีสัญชาติไทยของภรรยา
-
กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์ทั้งทางนิตินัย และ พฤตินัย
-
ฝ่ายสามีซึ่งเป็นคนต่างด้าว ต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากธนาคารในประเทศไทยและคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี
รายการเอกสารประกอบ
-
แบบฟอร์ม ตม.7 พร้อมติดรูปถ่ายจำนวน 1 รูป
-
สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
-
ทะเบียนสมรส(คร.21) ใบสำคัญการสมรส (คร.3) ใบรับรองความเป็นโสด(ปีแรก) จากสถานฑูตก่อนจดทะเบียนสมรส สูติบัตรบุตร(ถ้ามี) หรือ กรณีจดทะเบียนสมรสต่างประเทศให้แสดงทะเบียนสมรส ที่แปลเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ รับรองจากสถานทูตนั้นและทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
-
บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน(ของภรรยา) หรือเอกสารอื่นที่พิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติไทยจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีบิดา หรือมารดา เป็นคนต่างด้าวให้แสดงสูติบัตรภรรยา, หลักฐานการได้สัญชาติไทย, ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ หรือ สกุล ใบสำคัญการหย่า(ถ้าเคยสมรสมาก่อน)
-
กรณีเป็นบ้านเช่า ให้แนบสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
-
หลักฐานฐานะของสามีตามหลักเกณฑ์ข้อ 5
-
6.1 กรณีทำงานในประเทศไทย
-
ใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว
-
หนังสือรับรองจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ประเภทของงาน ตำแหน่งงานที่ขออนุญาตทำงาน และเงินเดือน(เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท) ลงนามโดยผู้มีอำนาจ
-
หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ รับรองโดยสรรพากร พร้อมใบเสร็จรับเงิน(ภ.ง.ด.1 ย้อนหลัง 3 เดือน และ ภ.ง.ด.91 ในรอบปีที่ผ่านมา)
-
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท (บอจ.5) (ไม่เกิน 6 เดือน)
-
6.2 กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย(ออมทรัพย์/ประจำ)
-
บัญชีธนาคาร ณ วันที่ยื่นขอ มีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท (เฉพาะปีแรก) ให้แสดงบัญชีเงินฝาก โดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 เดือน
-
หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท หรือ
-
6.3 กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่น เงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม
-
หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือ สถานกงสุลในประเทศไทยของผู้ยื่นคำขอ แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญ หรือรายได้อื่นเดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
-
รูปถ่ายในครอบครัว ที่พักอาศัย หน้าบ้าน และในบ้านที่มีเครื่องใช้ชีวิตประจำวัน
-
แผนที่จากถนนใหญ่
-
ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
-
หลักฐานอื่น ๆ
-
กรณียื่นขออยู่ต่อเป็นปีแรก ให้นำบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งมีความคุ้นเคย(ไม่ใช่ญาติพี่น้อง) 1 ท่าน มาในวันที่ยื่นคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน
-
กรณียื่นขออยู่ต่อเป็นปีแรกให้นำบุคคลสัญชาติไทย ซึ่งมีความคุ้นเคย (ไม่ใช่ญาติพี่น้อง) 1 ท่าน มาในวันที่ยื่นคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและรูปถ่ายร่วมกับคู่สมรส
หมายเหตุ
-
ผู้ยื่นคำขอและคู่สมรส ต้องมาติดต่อด้วยตนเองเพื่อมาให้ปากคำ (กรณีเปลี่ยนเงื่อนไขการขออยู่ ต่อให้แนบใบรับการเปลี่ยนเงื่อนไข)
-
ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อ ของผู้ยื่นคำขอ
|